วันอาทิตย์, 27 กรกฎาคม 2568
วันอาทิตย์, 27 กรกฎาคม 2568

 แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะและให้กำลังใจ ผู้เข้าร่วมอบรมวิทยากร “ฮูกุมปากัตธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี” สู่การขับเคลื่อนชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2568  ณ หอประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลา ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ให้เกียรติเข้าร่วมพบปะพูดคุย และให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรกลุ่ม “ฮูกุมปากัตธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี” เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดย พันเอก ปฐพี พุทธผล ผู้อำนวยการกองสันติวิธี ศูนย์สันติวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมวิทยากรขับเคลื่อนฮูกุมปากัตธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี โดยมี ดร.อิบรอฮิม ยานยา รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ พร้อมด้วย พลตรี อภินันท์ แจ่มแจ้ง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา, นายเสรี ศรีหะไตร ที่ปรึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, นายนันทพงศ์  สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.), นายมูฮำมัดซูวรี สาแล นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทีมวิทยากรแกนหลักจังหวัดยะลา ดำเนินกิจกรรมฯ ซึ่งภายในกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย ส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา

 การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแกนนำวิทยากรในการขับเคลื่อน “ฮูกุมปากัตธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี” ในระดับอำเภอและตำบล โดยมุ่งเน้นการปลูกฝัง ยะกีน (ความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าและการยึดมั่นในแนวทางแห่งศาสนาโดยปราศจากความสงสัย) และ ตักวา (ความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยศรัทธา) เพื่อเป็นรากฐานในการขยายผลสู่ระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบ

ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมอบรมถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มย่อย เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนแนวทางในการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยใช้ใบงาน 5 หัวข้อหลัก ดังนี้:

1. การปลูกฝัง ยะกีน (ความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า และการยึดมั่นในหนทางโดยไม่มีความสงสัยต่อพระองค์)

2. การปลูกฝัง การฏออะห์ (การเชื่อฟังและปฏิบัติตามหลักคำสอน)

3. การเชื่อมโยง ฮูกุมปากัต ที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้านกับ ธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี

4. การใช้แบบประเมินเกณฑ์มาตรฐานธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต)

5. การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบของหมู่บ้านในการขับเคลื่อนแผนงาน

ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมอบรมถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มย่อย เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนแนวทางในการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยใช้ใบงาน 5 หัวข้อหลัก ดังนี้:

1. การปลูกฝัง ยะกีน (ความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า และการยึดมั่นในหนทางโดยไม่มีความสงสัยต่อพระองค์)

2. การปลูกฝัง การฏออะห์ (การเชื่อฟังและปฏิบัติตามหลักคำสอน)

3. การเชื่อมโยง ฮูกุมปากัต ที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้านกับ ธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี

4. การใช้แบบประเมินเกณฑ์มาตรฐานธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮูกุมปากัต)

5. การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบของหมู่บ้านในการขับเคลื่อนแผนงาน

 กิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นการบูรณาการและการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม โดยมีหลักศาสนาอิสลามที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่